พิธีฉลองอัฐิ หรือที่บางคนเรียกว่า ทำบุญกระดูก เป็นพิธีสำคัญที่ชาวไทยพุทธจะนิยมทำกันเพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับซึ่งอาจจะเป็นบิดามารดาหรือคนที่เคารพรัก นอกจากนี้ยังเป็นพิธีที่ช่วยเสริมดวงอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับวงศ์ตระกูลด้วย โดยในอีกนัยหนึ่งที่ศาสนาพุทธมักชอบซุกซ่อนคำสอนไว้ในพิธีกรรมทางศาสนาอยู่บ่อยครั้ง คือการเตือนสติให้รู้ถึงความตายเป็นสิ่งที่แน่นอนไม่อาจเลี่ยงได้ และเป็นการเตือนตนให้มีสติอยู่เสมอตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท บทความนี้ร้านหรีดมาลาพาผู้อ่านไปรู้จัดพิธีนี้กัน
โดยทั่วไปของพิธีฉลองอัฐินั้นจะแบ่งมาได้ 3 แบบด้วยกันคือ 1.การทำบุญฉลองอัฐิตอนเย็นวันเผาศพ 2.ตอนเช้าหรือตอนเพลในวันถัดไปหลังเผาศพ 3.ทำเมื่อเจ้าภาพมีความพร้อม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วชาวไทยพุทธมักจะนิยมฉลองอัฐิในงานเผาศพนั้นทันทีเพื่อเป็นการรวบรัดตัดตอนให้พิธีมีความกระชับและเจ้าภาพไม่ต้องคอยกังวลว่าจะลืมพิธีนี้หรือไม่ ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ การทำในวันเผาจึงตอบโจทย์คนยุคปัจจุบันมมาก
รองลงมาคือการทำพิธีฉลองอัฐิ ตอนเช้าหรือเวลาเพลของวันถัดมาหลังเสร็จพิธีเผาแล้ว โดยนำอัฐิและอังคารไปตั้งบำเพ็ญกุศลฉลองอัฐิที่อยู่อาศัยของตนของตนหรือจะเป็นวัดใดวัดหนึ่งตามที่คณะญาติตั้งใจไว้ ตามความสะดวกของของแต่บุคคล
สุดท้ายการทำบุญกระดูกตามความพร้อมของเจ้าภาพ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ชาวพุทธนิยมกันมากพอสมควร เพราะบางครั้งเจ้าภาพอาจจะไม่เตรียมการหรือคนที่จะร่วมพิธียังไม่ครบ จึงมีการนัดหมายให้พร้อมเสร็จสรรพก่อนที่จะทำพิธีฉลองอัฐิ ซึ่งในทางความเชื่อของชาวไทยแล้วการทำแบบนี้จะได้กุศลมากทีเดียวเพราะผู้จัดงานมีความตั้งใจในการจัดเตรียมสิ่งของอย่างมากเพื่อให้พิธีดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
โดยสถานที่จัดงานฉลองอัฐินั้นโดยส่วนใหญ่คนไทยมักจะนิยมประกอบพิธีกันในวัดที่เผาศพ ซึ่งเป็นการสะดวกในการทำพิธี และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายบางส่วนไปด้วยรวมถึงประหยัดเวลาที่ต้องนัดบุคคลที่เกี่ยวข้องมาร่วมงานอีกครั้ง ต่อมาคือวัดใดวัดหนึ่ง เพราะบางคนอาจจะมีความศรัทธาหรือผูกพันวัดหนึ่งอยู่แล้วจึงทำให้มีการเลือกวัดสำหรับทำพิธีตามความศรัทธาของเจ้าภาพ และสุดท้ายคือการใช้บ้านของตนเป็นสถานที่จัดพิธีฉลองอัฐิ ก็ได้เช่นกัน
อุปกรณ์สำหรับทำพิธีฉลองอัฐิ
โดยปกติการเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำพิธีมักจะเตรีมอุปกรณ์ของใช้ในพิธีให้ถึงพร้อมก่อนวันงานโดยจะมีรายละเอียดต่อไปนี้
1.ผ้าไตร
หรือผ้าเช็ดตัว ไว้สำหรับใช้ทอดให้พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลอัฐิ โดยจะต้องเตรียมให้เท่ากับจำนวนพระสงฆ์ที่ทางงเจ้าภาพนิมนต์มา ซึ่งจำนวนพระสงฆ์จะอยู่ที่ 5,7,10 รูป หรือมากกว่าตามแต่จิตศรัทธา
2.ด้ายสายสิญจน์
ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน ใช้สำหรับโยงสายสิญจน์จากอัฐิมายังผ้าบังสุกุลเป็นเหมือนสายทางส่งให้ผู้ตายได้รับส่วนบุญที่ผู้จัดตั้งใจส่งไปให้
3.โต๊ะสำหรับตั้งอัฐิ
หรือโตะบูชาจำนวน 1 ตัว พร้อมทั้งเครื่องสักการบูชาอัฐิ คือ กระถางธูป 1 ลูก พร้อมกับธูป 1 ดอก และเชิงเทียนพร้อมทั้งเทียน 1 คู่
รูปแบบการจัดพิธีฉลองอัฐิ
โดยทั่วไปแล้วการจัดพิธีฉลองอัฐฺจะมีความแตกต่างกันไปตามความนิยมหรือความเชื่อของแต่ละบ้าน โดยหรีดมาลาจะลองแตกแยกแขนงออกมาตามที่รู้หรือได้เห็นมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้
เรื่องของสายสิญจน์
โดยทั่วไปจะมีการนำสายสิญจน์รอบบ้านไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านไปด้วย แต่ก็มีหลายบ้านที่ไม่นิยมทำเพราะมองว่าเป็นการทำบุญกระดูกเพื่อมอบบุญกุศลให้กับผู้จากไป ทำให้บคนมานิยมวนสายสิญจน์จากอัฐิมาให้พระสงฆ์ถือสวดพระพุทธมนต์แทน และยังมีบางคนที่จะโยงด้ายมาที่โต๊ะหมู่บูชาด้วย แต่ก็มีบางบ้านไม่ทำ
ขันน้ำมนต์
อีกหนึ่งไฮไลท์ที่พอมีงานพิธีทางศาสนาทุกคนก็มักจะรอการโปรยน้ำมนต์กันบ่อย ซึ่งก็มีบางบ้านที่ไม่นิยมตั้งขันน้ำมนต์เพราะมองว่างานนี้ต้องการมอบบุญกุศลให้ผู้ตายโดยเฉพาะเท่านั้น
การตั้งโต๊ะวางอัฐิ
การตั้งโต๊ะวางอัฐจะมีการการรูปผู้ตาย กระถางธูปพร้อมธูป 1 ดอก เชิงเทียนพร้อมเทียน 1 คู่และจัดเตรียมวงด้ายสายสิญจน์รอบโกศอัฐิ-อังคาร-รูปภาพของผู้ตาย เพื่อใช้ทอดผ้าบังสุกุลให้พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุลอัฐิและอังคารต่อไป
ผู้ร่วมงานไม่สะดวกไปทำอย่างไรดี
“โดยส่วนมากที่การฉลองอัฐิมักจะทำในวันฌาปนกิจศพทันที หรือจะเป็นวัดถัดไป ซึ่งบางครั้งผู้ประสงค์ไปร่วมงานบางคนอาจจะติดธุระสำคัญทำให้ไม่สามารถมาร่วมงาน ร้านพวงหรีดมาลาจึงแนะนำให้ใช้พวงหรีดเป็นตัวแทนแสดงความอาลัยและความปรารถนาดีต่อผู้ล่วงลับ และยังเป็นตัวแทนที่ต้องการแสดงความจริงใจและยังเป็นการให้เกียรติต่อเจ้าภาพในงานอีกด้วย
เป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อยที่ร้านหรีดมาลานำมาแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกคนได้เห็นและเข้าใจในรูปแบบการทำบุญกระดูก ใครที่สนใจหรือต้องการสอบถามก็สามารถสอบถามทางร้านได้ ทางเรามีบริการให้คำปรึกษาและบริการส่งพวงหรีดถึงศาลาวัด”