พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย ด้วยระยะเวลาถึง 70 ปี 4 เดือน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ จนถึงทรงเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นที่รักและเคารพนับถือของไทยทั้งประเทศ รวมไปถึงชาวต่างชาติหลายคนทั่วโลกตลอดมา พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชนชาวไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์มีดังนี้
โครงการแกล้งดิน
เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงเห็นถึงปัญหาที่ชาวบ้านพบเจอ นั่นคือปัญหาดินเปรี้ยวจนไม่สามารถทำการเกษตรใดๆ ได้ พระองค์จึงคิดหาทางแก้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “แกล้งดิน” โดยโครงการนี้ใช้เวลาศึกษาทดลองถึง 2 ปี ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ซึ่งมีวิธีการคือ ทําดินให้แห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเป็นการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งกระบวนการนี้จะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และปล่อยกรดกํามะถันออกมา ซึ่งผลลัพธ์คือดินจะกลายเป็นกรดจัด ทำไปเรื่อยๆดินจนไม่สามารถปลูกพืชได้ จากนั้นจึงหาวิธีเพื่อปรับปรุงดินให้กลับมาสามารถปลูกพืชได้ ซึ่งวิธีการปรับปรุงดินมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีดังนี้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงเห็นถึงปัญหาที่ชาวบ้านพบเจอ นั่นคือปัญหาดินเปรี้ยวจนไม่สามารถทำการเกษตรใดๆ ได้ พระองค์จึงคิดหาทางแก้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “แกล้งดิน” โดยโครงการนี้ใช้เวลาศึกษาทดลองถึง 2 ปี ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ซึ่งมีวิธีการคือ ทําดินให้แห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเป็นการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งกระบวนการนี้จะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และปล่อยกรดกํามะถันออกมา ซึ่งผลลัพธ์คือดินจะกลายเป็นกรดจัด ทำไปเรื่อยๆดินจนไม่สามารถปลูกพืชได้ จากนั้นจึงหาวิธีเพื่อปรับปรุงดินให้กลับมาสามารถปลูกพืชได้ ซึ่งวิธีการปรับปรุงดินมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีดังนี้1. ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดของดิน เพราะจะเป็นการเพิ่ม ค่า pH ให้แก่ดินและดินจะหายเปรี้ยว และหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตเสริม ก็จะทำให้สามารถปลูกพืชได้นั่นเอง2. ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน3. ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน
โครงการปลูกหญ้าแฝก
โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2534 ซึ่งพระองค์ทรงคิดโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการพังทลายของหน้าดิน และเหตุผลที่เลือกใช้หญ้าแฝก นั่นเพราะ หญ้าแฝกเป็นพืชที่ทนทาน มีรากยาวลึกลงไปในผืนดิน อีกทั้งรากยากแผ่กระจายไปในบริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นการยึดเกาะหน้าดินไม่ให้พังทลายนั่นเอง และที่สำคัญคือหญ้าแฝกเป็นพืชที่ง่ายต่อการดูแลอีกด้วย
โครงการแก้มลิง
พระองค์ทรงริเริ่มโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ชาวบ้านพบเจอมาเป็นระยะเวลานานนั่นคือ น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรเสียหาย และมีน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการในหน้าแล้ง พระองค์จึงพยายามหาวิธีแก้ไขโดยสังเกตจากลิง เมื่อมันได้กล้วยมา มันก็จะปลอกกล้วยเข้าปากทันที แล้วนำกล้วยนั้นไปตุนเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้มจนเต็ม และเมื่อถึงเวลาหิว มันก็จะนำออกมาเคี้ยวในภายหลัง ด้วยเหตุผลนี้พระองค์ทรงมีรับสั่งให้กรมชลประทานจัดทำแก้มลิงขึ้นในหลายจังหวัด ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดอื่นๆ อีกหลายแห่ง นับว่าโครงการแก้มลิง ถือเป็นอีกโครงการสำคัญที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้
โครงการฝนหลวง
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นความคิดริเริ่มที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2498 ครั้นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ได้ทรงทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร จากนั้นพระองค์ทรงใช้เวลานานถึง 14 ปี ในการวิจัยและศึกษาเกี่ยวกับการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปลงสภาพอากาศ เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหานี้จนชำนาญแล้ว จึงลงมือทดลองทำฝนหลวงครั้งแรกเมื่อปี 2512 โดยใช้สารเคมีโปรยใส่ก้อนเมฆบนท้องฟ้า จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยากับก้อนเมฆนั่น และก่อตัวเป็นไอน้ำ ท้ายที่สุดก็จะกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝนได้สำเร็จและใช้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม และมีบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ สารานุกรมทั้งหมดที่จัดทำออกมาจะรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชาที่มีความรู้และเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน ซึ่งมีจุดประสงค์ให้เยาวชนสามารถหาอ่านความรู้เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้พัฒนาตนเองให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาของประเทศต่อไป โดยแยกเป็นฉบับปกติ 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้อีก 20 เล่ม
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง (เกษตรทฤษฎีใหม่)
อีกหนึ่งโครงการสำคัญตามพระราชดำริที่คนไทยทั้งประเทศยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตมาเป็นเวลานาน พระองค์ทรงคิดแนวความคิดนี้มาเพื่อเป็นแนวทางให้คนไทยดำเนินรอยตาม เนื่องจากคนไทยที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรส่วนใหญ่ไม่มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดีพอ จึงทำให้อาจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างไม่เต็มที่นั่นเอง โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นต้น คือการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อแบ่งเป็น การขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% เพื่อปลูกข้าวในฤดูฝน 30% เพื่อปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10% และมีแนวทางตามภาพด้านล่างนี้นั่นเอง